August. 29, 2019

IPO กับการเตรียมระบบควบคุมภายใน อย่างไรถึงสำเร็จ

การนำบริษัทเข้าIPO ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ในยุคนี้ บจก.ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ให้ความสนใจโดยเฉพาะ 3-4 ปีที่ผ่านมา เราได้ให้บริการงานทางด้านการตรวจสอบภายใน วางระบบควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และงานด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งในวันนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่ง เป็นกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จสามารถนำบริษัทเข้า IPO ได้เป็นผลสำเร็จซึ่งจะขอกล่าวถึงในด้านการเตรียมระบบควบคุมภายใน


1.       ผู้บริหารระดับสูงและพนักงานมีความเข้าใจในการเตรียมตัวปรับปรุงระบบขั้นตอนการทำงานให้ความร่วมมือ ทั้งจากในรายงานของผู้ตรวจสอบภายใน และรายงาน ML(Management Letter[1]ของทางผู้สอบบัญชี ซึ่ง Tone at the top[2]มีส่วนสำคัญมากๆ ทำให้บรรยากาศในองค์กรเกิดความร่วมมือไม่ใช่แค่ทำเพื่อให้ตรวจสอบ

2.       รายงานที่ตรงประเด็น “tailor-made[3]สำหรับองค์กร” ไม่เป็น pattern ที่ทำตามๆกันมา และข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไข ที่สามารถนำไปทำได้จริง ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับ ร่วมถึง Compensating Control[4]ทำให้เกิดการยอมรับจากผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ส่งผลให้การแก้ไขเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเหมาะสม

3.       โครงสร้างการกำกับดูแล (คณะกรรมการต่างๆในองค์กร) หากได้ “ทำหน้าที่อย่างแท้จริง” ตามองค์ประกอบ มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนองค์กร ทั้งในแง่ผลประกอบการที่มีความสมดุล ตั้งแต่เริ่มเตรียม IPO จนถึงการเข้า ตลาดหลักทรัพย์ หรือ แม้จะเข้าไปแล้วก็ตาม การให้ความสำคัญในแง่การบริหารความเสี่ยง หรือ ระบบการควบคุมภายใน จะทำให้ฝ่ายบริหารเกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

4.       การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงาน ทำให้เกิดระบบงานที่เป็น Automated Control[5]ทำให้เกิดความเสถียร “ไม่ยึดติด” กับตัวบุคคลที่เป็นฟันเฟืองในระดับปฏิบัติการ

5.       การฝึกอบรมการใช้งานระบบสานสนเทศของบริษัท และคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทำให้เกิดความต่อเนื่องการทำงาน ไม่ว่าจะมีการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงพนักงานที่ทำหน้าที่ในจุดต่างๆ สามารถกระทำได้โดยไม่มีสะดุด

6.       ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับเรื่องใด หรือใครก็ตาม (Management Override)[6]ทำให้ไม่เกิดข้ออ้าง หรือข้อเปรียบเทียบ ทำให้การพัฒนาระบบเป็นไปตามหน้าที่งานอย่างจริงจังที่จริงอาจจะมีอีกหลายองค์ประกอบที่ทำให้บริษัทสามารถพัฒนาระบบการควบคุมภายใน จนทำให้นำบริษัทเข้าสู่การ IPO ที่ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นเป็นเพียงมุมมองของผู้เขียนที่เคยได้พบเห็นมาเท่านั้น หากพี่น้อง หรือ ผู้ชำนาญการท่านใด จะร่วมแชร์ แสดงความคิดเห็น ก็สามารถร่วมกันได้ในContent นี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่สนใจ หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย




หมายเหตุ:

[1] รายงานถึงปัญหาและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบงบการเงิน

 

[2] การแสดงออกหรือทำให้เห็นโดยผู้บริหารระดับสูง

 

[3] ในที่นี้ผู้เขียน ให้ความหมายในลักษณะว่า รายงานต้องแสดงให้เห็นถึงลักษณะของธุรกิจลูกค้าอย่างแท้จริง เข้าใจสภาพแวดล้อมข้อบังคับ กฏหมาย กระบวนการ เครื่องมือบังคับใช้ต่างๆ และsoftware

 

[4] การควบคุมอื่นที่สามารถทดแทนกันได้

 

[5] การควบคุมในระบบโดยอัตโนมัติ

 

[6] การละเมิดขั้นตอนโดยผู้มีอำนาจ

 

more news